หากรับสร้างบ้านแล้วต้องคำนึงถึงวัสดุเป็นหลัก

ในการสร้างบ้านหลังหนึ่งจากที่เราได้รู้จักการสร้างหลังคาแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่าก่อนจะมีหลังคาได้ต้องมีโครงสร้างอย่างโครงเหล็กด้วย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน จริงๆอาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้ใครจะไปรู้กันละเนอะ

อย่างแรกเลย… โครงหลังคาเหล็ก มีทั้งแบบเหล็กกลม ซึ่งนิยมใช้ในหลังคาที่ต้องการรูปทรงที่แปลกตา ตลอดจนมี ระยะช่วงกว้างของเสามากๆ  และแบบตัว C ซึ่งมัก จะเป็นเหล็กที่มี ความหนาราวๆ เหมาะสำหรับใช้กับกระเบื้องลอนคู่ และความหนาขึ้นมาหน่อยใช้กับกระเบื้องโมเนีย นอกจากนี้เหล็กที่ใช้ต้องเป็นเหล็กที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม และจำเป็นต้อง ทาด้วยสีกันสนิม ที่ได้รับมาตรฐานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง

อย่างสอง…โครงหลังคาไม้เนื้อแข็งต้องเป็นไม้ที่ได้รับการอบ หรือผึ่งจนแห้งจะต้องไม่มีร้อยแตกร้าวบิด หรืองอ และต้องได้รับมาตรฐาน นอกจากนี้ควรทาน้ำยากันปลวกอย่างน้อย 2 ครั้ง เพราะปลวกในบ้านเราชุกชุมและขยันเหลือเกิน การขึ้นโครงหลังคา หากอาคารมีช่วงกว้างมาก ควรใช้ไม้ค้ำยันเสริมความแข็งแรง เป็นโครงถักส่วนระยะการวางจันทันต้องเว้นระยะประมาณ 1 เมตร เนื่องจากการวางจันทัน ระยะที่ถี่จะช่วยลด ความเสี่ยงที่ทำให้ หลังคาแอ่นได้

Conventure

ข้อแนะนำเรื่องการรับสร้างบ้านในส่วนของพื้นคอนกรีตสักหน่อย โดยพื้นฐานแล้ว พื้นสำเร็จรูปมีมากมายหลายชนิด ให้เลือกใช้ ในบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้น นิยมใช้พื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ ในขณะที่ แบบมีรูกลวง นั้นสามารถใช้ในช่วงเสาที่มีความกว้างถึง 6 -15 เมตร นิยมใช้กันใน อาคารขนาดใหญ่ส่วนพื้นระบบ Post tension คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กชนิดพิเศษ ที่ออกแบบมา ให้สามารถ รับแรงดึง ได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเหล็กชนิดพิเศษนั้น ให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้น ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักมากขึ้น